ตำนาน ปลาไหลเผือก

ตำนาน ปลาไหลเผือก สู่การล่มสลายของเมืองโยนก

คำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น ตำนาน ปลาไหลเผือก บุตรพญานาคสู่การล้างแค้นที่ทำให้เมืองทั้งเมือง ต้องจมลงสู่ก้นบาดาล

ตำนาน ปลาไหลเผือกบุตรพญานาค สู่การล่มสลายของเมืองโยนก

เมืองไทยของพวกเรา เป็นหนึ่งในประเทศที่มักจะมีเรื่องเล่า ในแบบฉบับของพื้นบ้านตามแต่ละภาค นิทานปรัมปราหรือ ตำนานที่กล่าวขาน ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เล่ากันปากสู่ปาก ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคไหน สถานที่ใด หากอยู้ในพื้นแผ่นดินนี้ก็เป็นเรื่องปกติ ที่มักจะมีประวัติความเป็นมา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ ที่นั้น ๆ 

มีตำนานอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง และโด่งดังอยู่ไม่น้อยว่าพญานาคถล่มทำลาย เมืองโยนกนครจนเมืองดังกล่าว จมลงไปสู่พื้นบาดาลโดยใช้เวลาเพียงข้ามคืน หลายคนอาจคิดว่าตำนานเรื่องนี้เป็นเพียงแค่เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาที่พวกผู้ใหญ่แต่งขึ้นมา เพื่อสร้างประวัติความเป็นมาของสถานที่นั้น ๆ เรื่องราวความแค้น ระหว่างพญานาคกับมนุษย์มันเกิดอะไรขึ้น ตำนานนี้จะเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่หลาย ๆ ท่านกำลังสงสัย

ตำนานที่กำลังจะเล่าในวันนี้ เกิดขึ้นที่เวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ความน่าสนใจของตำนานนี้ไม่เหมือนเรื่องทั่วไปของไทย เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการค้นพบปรากฏถึงหลักฐาน หลาย ๆ อย่างที่เมื่อพิจารณาดี ๆ แล้วจะเห็นได้ถึงความสอดคล้อง กับเรื่องราวที่เขาได้เล่าสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น บ่งบอกเอาไว้ว่า อาณาจักรโบราณที่อยู่ในตำนานเรื่องเล่า ที่ในอดีตได้ล่มสลายจมหายไปสู่บาดาลกลายเป็นหนองน้ำอาจจะเป็นเรื่องจริง 

ตำนาน ปลาไหลเผือก วัดป่าหมากหน่อ

ตำนาน ปลาไหลเผือก นี้เล่าว่าเมื่อนานมามากแล้ว กษัตริย์เจ้าเมืองแห่งนครไทยเทศ หรือที่รู้จักกันดีในนามของ เมืองราชคฤห์ มีถิ่นที่ตั้งบริเวณทะเลสาบ “เอ๋อร์ไห่” หรือ “หนองแส” (ภาษาไทยลื้อไทใหญ่ ที่เมื่อทำการแปลความหมาย จะได้ว่าทะเลสาปที่มีน้ำท่วมล้น) ท่านได้มีคำสั่งให้ราชบุตร แยกกันออกไปหาพื้นที่สร้างบ้านแปงเมืองของตนเอง เพื่อที่จะได้ปกครองในอนาคต ซึ่งหนึ่งในราชบุตรชื่อ สิงหนวัติกุมารได้พาเหล่าผู้คนอพยพออกจาก เมืองนครไทยเทศ

เจ้าสิงหนติราชกุมาร ได้มุ่งไปในเส้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดินมาเรื่อย ๆ ผ่านมาหลายวันหลายค่ำคืน จนมากระทั่งเดินทางมาถึง แคว้นสุวรรณโคมคำ ที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง พื้นเพคนที่นั่นจึงค่อนข้างผูกพันธ์ และมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ซึ่งที่นี้จะมีชาวลัวะได้อาศัยอยู่ที่บริเวณดอยตุง ซึ่งพวกเขาจะมีผู้นำที่ชื่อว่า “ปู่เจ้าลาวกุย” ซึ่งเจ้าสิงหนติราชกุมาร ท่านเองก็ได้เจอกับพญานาคที่นี่

เมื่อเจ้าสิงหนติราชกุมารมาถึง ได้มีพญานาคแปลงกายเป็นพราหมณ์นุ่งขาวห่มขาว เข้าไปทักทายกับพระองค์ เมื่อได้พูดคุยกันไปมาแล้วพญานาค ก็ได้รับรู้ถึงจุดประสงค์ของเจ้าชายรายนี้ พญานาคจึงคืนร่างเดิม และได้แนะนำตัวเองว่าเป็นพญานาคอาศัยอยู่ที่แม่น้ำ พร้อมกับกล่าวต่ออีกว่า “เรามีสถานที่แนะนำให้พระองค์ ได้สร้างบ้านเมืองเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ รองรับประชาชนได้ครบทั้งหมด เหมาะแก่การสร้างบ้าน แปลงเมืองตามประสงค์ของท่าน” 

แต่มีข้อแม้อยู่บ้าง คือต้องสัญญากับพญานาคว่า ถ้าหากท่าน และประชาชนได้มาตั้งบ้านเมืองตามใจประสงค์แล้ว ขอให้ชาวเมืองทั้งหมด ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม เคร่งครัด และต้องหมั่นทำบุญ อุทิศบุญให้องค์หญานาคอยู่สม่ำเสมอไม่ขาด 

แน่นอนว่าเจ้าชายสิงหนติราชกุมาร และเหล่าชาวบ้าน ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับข้อเสนอเหล่านี้ พอพญานาครับรู้เช่นนั้น เขาก็ค่อนข้างพึงพอใจ และได้หายวับจากไป เจ้าชาย และชาวบ้านก็ไม่รอช้ารับเดินทางไปยังตำแหน่งในการตั้งเมือง ตามที่พญานาคได้บอกไว้ และตั้งเมืองขึ้นมาสำเร็จ

เมืองดังกล่าวนี้ได้ชื่อว่า “เมืองนาคพันธุสิงหนตินคร” เป็นการนำชื่อของท่าน กับชื่อพญานาคผสมกันขึ้นมา ตลอดระยะเวลาปกครอง เจ้าชายก็ได้มีการขยายอำนาจ ในการปกครองจนไปถึงกลุ่มชนพื้นถิ่นเดิมทั้งหมด ต่อมาภายหลังก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอีกครั้งเป็น “โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น” นับตั้งแต่นั้น สำหรับโยนกนครก็จัดได้ว่าเป็นนครที่ เจริญรุ่งเรืองส่งผ่านรุ่นสู่รุ่นผ่านมาเป็นเวลา 450 ปี จนมาถึงในยุคของกษัตริย์องค์ที่ 45 ท่านชื่อ “พญามหาไชยชนะ”

เมื่อกาลเวลาผ่านไป

คำสัญญาของชาวบ้าน ต่อพญานาคก็ได้เลือนรางจางหายไปตามกาลเลา แต่ละคนไม่ปฏิบัติ เหมือนดังคำหมั่นครั้งเก่าก่อน ผู้คนรุ่นใหม่ ๆ ไม่ได้มีศีลธรรมเหมือนดังปู่ย่าตายาย ณ วันหนึ่งที่เกิดเหตุชาวบ้านก็ได้ออกไปหาปลาที่แม่น้ำกก ชาวบ้านรายหนึ่งจับปลาไหลเผือกได้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดมาก เพราะปลาไหลเผือกตัวใหญ่มาก มากกว่าปลาไหลปกติทั่วไป โดยลือกันว่าตัวมันเท่าลำตาล มีความยาวมากถึงประมาณ 7 วาเศษ

ตำนาน ปลาไหลเผือก เมืองโยนกล่มสลาย

ด้วยความที่ดูแล้วเป็นความแปลกหลาด ชาวบ้านได้นำปลาไหลเผือก ไปให้ถวายให้พญาไชยชนะ พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วรับสั่งว่า นำปลาไหลเผือกตัวนี้ไปแลเนื้อ ทำการแจกจ่ายชาวบ้านทุกคน ที่รับสั่งเช่นนี้เพราะพระองค์ทรงคิดว่า เนื้อที่ได้มานี้จะเป็นเนื้อที่พิเศษอย่างแน่นอน จึงอยากให้ชาวเมืองได้กินเนื้อนี้อย่างทั่วถึงกันทั้งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคล ทุกคนได้กินทั่วกันทั้งเมืองจริง ๆ ตามความประสงค์ของพญามหาไชยชนะ แต่มีหญิงหม้ายชราคนหนึ่งชื่อว่า “บัวเขียว” ที่อาศัยอยู่บ้านลำพัง ไม่มีใครนึกถึงนาง และไม่มีใครนำปลาไหลเผือกไปให้กับนางได้กิน

ตอนหลังเรื่องราวได้ถูกเปิดเผย พญานาคผู้พ่อได้รู้ข่าวว่า ลูกสาวของตนได้ถูกชาวโยนกนครฆ่า แล้วนำเนื้อไปกินทั้งเมือง พญานาคจึงรีบไปหาแม่บัวเขียว พร้อมกับกำชับว่าคืนนี้ยามดึก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่าได้ออกมาจากเรือนเป็นอันขาด 

และเมื่อตกกลางคืน พญานาคบันดาลให้เกิดแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ที่สุดถึง 2 ครั้ง ทำให้เมืองพังทลายราบเป็นหน้ากลอง ผู้คนทั้งเมืองต่างตื่นตระหนก วิ่งหนีตายกันไม่เว้นแม้แต่ พญามหาไชยชนะ แผ่นดินโยนกนครได้ทรุดตัวลง ยกเว้นแผ่นดินของแม่บัวเขียว ที่กลายเป็นแผ่นดินกลางน้ำคือ “เกาะแม่หม้าย” 

ตั้งแต่คืนนั้น เมืองโยนกนครอดีตนครที่เจริญรุ่งเรือง ได้กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งกลายเป็นเวียงหนองหล่ม จนถึงปัจจุบันนี้ 

ขอขอบคุณ : เรื่องเล่าสาระ